เว็บไซต์ภายใน
งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
ครูประจำหอพักนักเรียน
ระเบียบการแต่งกายนักเรียน

วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งโรงเรียน
  30 กันยายน 2567 23:55    บทความทั่วไป    โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ จังหวัดสกลนคร    อ่าน 3335  


ในการจัดตั้งโรงเรียน

          เนื่องจากเขตการศึกษา ๙ ซึ่งมีจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ อุดรธานี ขอนแก่น เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู มีเด็กที่ขาดโอกาสได้เข้ารับการศึกษา มีบ้านอยู่ไกลโรงเรียนที่สอนให้เปล่าเกิน ๒,๐๐๐ เมตร อยู่ในถิ่นทุรกันดารไกลคมนาคม มีเด็กที่มีปัญหาบิดา มารดา หรือผู้ปกครองมีฐานะยากจนอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งต้องยกเว้นการเรียนตามพระราชบัญญัติประถมศึกษาให้สมบูรณ์ และเพื่อช่วยให้เด็กได้รับสิทธิการศึกษา ตามสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับเด็กอื่น ๆ ในวัยเดียวกัน   จึงจัดตั้งโรงเรียนพิเศษขึ้น เรียกว่า โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ เป็นโรงเรียนที่นักเรียนอยู่ประจำ มีวัตถุประสงค์พิเศษ ประเภทสถานศึกษาสำหรับเด็กด้อยโอกาส ๑๐ ประเภท เช่น เด็กถูกบังคับให้ขายแรงงาน เด็กเร่ร่อน เด็กที่อยู่ในธุรกิจทางเพศหรือโสเภณีเด็ก เด็กที่ถูกทอดทิ้ง/กำพร้า เด็กที่ถูกทำร้ายทารุณ เด็กยากจน(มากเป็นพิเศษ) เด็กในชนกลุ่มน้อย เด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับสารเสพติด เด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์หรือโรคติดต่อร้ายแรงที่สังคมรังเกียจ เด็กในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นเด็กที่อยู่ในสภาวะยากลำบาก มีชีวิตความเป็นอยู่ด้อยกว่าเด็กปกติทั่วไป จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมีพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม กับวัย และสามารถบรรลุศักยภาพขั้นสูงสุดหรือกล่าวโดยสรุปคือ เพื่อรับเด็กด้อยโอกาส ๑๐ ประเภท ที่มีอายุอยู่ในเกณฑ์บังคับ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาของชาติ ให้มีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียม และมีคุณภาพ

          โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนคร ได้รับเข้าอยู่ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่มีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา จึงให้โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนครเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเปลี่ยนชื่อโรงเรียน ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖

โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ (ศึกษาสงเคราะห์สกลนคร) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยเสด็จเยี่ยมโรงเรียนเพื่อติดตามนักเรียนทุนในพระราชานุเคราะห์ ฯ และโครงการส่วนพระองค์ ถึง ๓ ครั้ง คือ

ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๓๗ ประมวลพระราชดำริ/พระกระแสรับสั่ง ของสมเด็จ

พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จเยี่ยมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ (โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนครเดิม)

ครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๓๘ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราช

กุมารี ทรงติดตามความคืบหน้าเพื่อเสด็จเยี่ยม โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ (โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนครเดิม)

ครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๔๖ ประมวลพระราชดำริ/พระกระแสรับสั่ง

ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสเสด็จเยี่ยมโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓ (โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์สกลนครเดิม)

 

ที่ตั้งโรงเรียน                        เลขที่ ๗๘ หมู่ ๑๒ ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม

จังหวัดสกลนคร ๔๗๒๒๐

ขนาดโรงเรียน                      ขนาดกลาง

จำนวนพื้นที่                         ๗๒๔ ไร่ ๒๑ ตารางวา

เปิดสอนระดับ                       ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ –ชั้นมัธยมศึกษามัธยมศึกษาปีที่ ๖

 

ลักษณะที่ตั้งโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ ๕๓

ตั้งอยู่ในเขตอำเภอพรรณนานิคม จังหวัดสกลนคร เป็นชุมชนบนภูเขา มีอาณาเขตติดต่อดังนี้

  • ทิศเหนือ               โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านภูเพ็ก
  • ทิศใต้                  วัดพระธาตุภูเพ็ก
  • ทิศตะวันออก          โรงเรียนบ้านประชาสุขสันต์
  • ทิศตะวันตก           วัดถ้ำขาม

สภาพพื้นที่  ๑) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นหมู่บ้านเชิงเขา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และรับจ้าง ส่วนใหญ่มีรายได้น้อย รายได้ไม่แน่นอน รอบบริเวณโรงเรียน มีไร่อ้อย ประเพณี/ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ฟ้อนผีฟ้า

ประเพณีบวงสรวงองค์พระธาตุภูเพ็กเพื่อขอฝน

๒) ผู้ปกครองส่วนใหญ่ จบการศึกษาระดับ ม.๖ อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทางเศรษฐกิจ/รายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี ๑๕,๐๐๐ บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว ๔ คน

 

สัญลักษณ์ของโรงเรียน

 logo

สีประจำโรงเรียน คือ    “สีเขียว – สีขาว”

สีเขียว หมายถึง          สัญลักษณ์ของป่าเขาลำเนาไพร   และความอุดมสมบูรณ์

สีขาว หมายถึง           สัญลักษณ์ดินแดนแห่งธรรมมะ

ดอกไม้ประจำโรงเรียน  ประดู่ทอง
flower

อักษรย่อ                   ร.ป.ค.๕๓

 

 

ขึ้นด้านบน